เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 6 เป็นต้น



ในสูตรที่ 6 เป็นต้นวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ภิกฺขเว ปาตุภาวา มหโต จกฺขุสฺส
ปาตุภาโว โหติ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุใหญ่ย่อมปรากฏ
เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเอกปรากฏ.
เมื่อบุคคลนั้นปรากฏแล้ว แม้จักขุก็ย่อมปรากฏเหมือนกัน เพราะเว้น
บุคคลปรากฏเสีย จักขุก็ปรากฏไม่ได้. บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การอุบัติ
คือ ความสำเร็จ. จักษุชนิดไหน ? จักษุคือปัญญา. เสมือนเช่นไร ? เสมือน
วิปัสสนาปัญญา ของพระสารีบุตรเถระ เสมือนสมาธิปัญญา ของ
พระมหาโมคคัลลานเถระ. แม้ในอาโลกะ (การเห็น) เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. จริงอยู่ ในการมองเห็นเป็นต้นนี้ ท่านประสงค์เอาการ
มองเห็นเช่นการมองเห็นด้วยปัญญา และแสงสว่าง เช่นแสงสว่าง
แห่งปัญญาของพระอัครสาวกทั้งสอง. บทแม้ทั้ง 3 นี้ คือ แห่ง
ดวงตาอันใหญ่ แห่งการมองเห็นอันใหญ่ แห่งแสงสว่างอันใหญ่
พึงทราบว่า ตรัสเจือกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า ฉนฺนํ อนุตฺติยานํ ได้แก่ ธรรมอันสูงสุด 6 อย่าง
ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ในคำนั้นมีอธิบายว่า อนุตตริยะ 6 เหล่านี้
คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
อนุตตริยะ 6 เหล่านี้ จึงมี.